ชลประทานเลยอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Last updated: 19 ม.ค. 2565  |  683 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อ.ภูหลวง จ.เลย โครงการชลประทานจังหวัดเลย รับมอบอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียง พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เวลา 10.30  น.วันที่ 19 ม.ค.2565  ณ อ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียง บ้านน้ำพุพัฒนา หมู่ 3 ต.ห้วยสีเสียด อ.ภูหลวง จ.เลย นายราเชน ศิลปะรายะ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้าง พร้อมด้วยนายสมคิด หล่าสกุล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการก่อสร้าง นายศุภกรณ์ แก้วแกมแข หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 2 โครงการก่อสร้าง นายเริงชัย รักอยู่ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเลย นายสุขสันติ์ ศรีบุรินทร์ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการชลประทานเลย นายชัยยันต์ สุรสรณ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเลย ร่วมในพิธีลงนาม รับมอบอ่างเก็บน้ำห้วยวังเวียง พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหัวหน้า ราชการ ผู้บริหาร อบต.ห้วยสีเสียด ผู้นำชุมชน ประชาชน ร่วมในพิธีบันทึกการส่งมอบรับมอบโอนงาน


นายราเชน ศิลปะรายะ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างฯ เปิดเผยว่า การถ่ายโอนภารกิจให้แก่โครงการชลประทานเลย (ตามระเบียบกรมชลประทาน ว่าด้วยการถ่ายโอนฯ พ.ศ.2557 บันทึกฉบับนี้ ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า คณะกรรมการส่งมอบตามภารกิจของกรมชลประทาน ตามคำสั่งสำนักงานชลประทานที่  5 ที่ 138 / 2564 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564  ได้ดำเนินการส่งมอบโอนงานโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ต.ห้วยสีเสียด อ.ภูหลวง จ.เลย ให้โครงการชลประทานเลย รับมอบงานเพื่อการดูแลบำรุงรักษาภารกิจตามบัญชีแนบท้ายให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อท้องถิ่นต่อไป ซึ่ง โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ แห่งนี้ ได้เริ่มต้นจาก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นายพัฒนา บุตรตะนัย ได้ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณบ้านน้ำพุพัฒนา ต.ห้วยสีเสียด อ.ภูหลวง จ.เลย ซึ้งความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ที่ตั้ง ที่เส้นแวง 101-44'-54" ตะวันออก พิกัด 47 QQU 925-916 ( UTM 792510E 1891580N ) ระวาง 5343 III ลำดับชุด L7018 โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ นั้น  เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับทำการเกษตรและอุปโภค-บริโภคของราษฎร เพื่อการป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลักษณะโครงการ มีชนิดทำนบดินแบบ Zone Dam  ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกักประมาณ 638,000 ลบ.ม. ความกว้างทำนบดิน 8.00 เมตร ความสูงทำนบดิน 19.00 เมตร ความยาวทำนบดิน 210.00 เมตร อาคารระบายน้ำล้น Duck Bill Weir ขนาดกว้าง 4.00 ม. สูง 2.00 ม. ยาว 152 ม. พื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก ประมาณ 66 ไร่ กิจกรรมระบบส่งน้ำ ส่งน้ำด้วยระบบท่อความยาวประมาณ 8  กม.ระยะเวลาทำงาน  มิ.ย.63 ก.ค.2563 ถึง 31 ม.ค.64 แล้วเสร็จ อ่างแห่งนี้จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างน้อย 30 ปี


นายเริงชัย  รักอยู่ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดเลย เปิดเผยว่า โครงการนี้เกิดขึ้นได้จาก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นายพัฒนา บุตรตะนัย ประชาชนชาวบ้านน้ำพุพัฒนาได้ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณบ้านน้ำพุพัฒนา ซึ่งมีภูเขาล้อมรองด้วยภูค้อ สวนหินผางาม ผานกบักแหน่ง น้ำตกเพียงดิน เมื่อฝนตกน้ำป่าจะไหลลงสู่ บ้านน้ำพุพัฒนา บ้านห้วยสีเสียดลงลำห้วย อ.ภูหลวงและบ้านนาแก ลงสู่แม่น้ำเลย   เกิดภาวะภัยแล้ง น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมและสูญเสียน้ำจำนวนมากแต่ละปี นายพัฒนาฯ จึงได้ถวายฎีกาฯ ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ


วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เมื่อโครงการชลประทานเลยรับมอบก็ดูแล รักษาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ที่สำคัญคือต้องบริหารจัดการด้านภัยแล้ง และน้ำป่าไหลหลากแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ส่วนประโยชน์คือประชาชนได้ใช้อุปโภค-บริโภค  820 ครัวเรือน ประชากร 3,200  คน การเพาะปลูกฤดูฝน 2,200 ไร่ ฤดูแล้ง  820  ไร่ ใช้งบประมาณการก่อสร้างโดยรวมประมาณ 75 ล้านบาท


นางพรชัย ผลสนอง ผู้ใหญ่บ้านน้ำพุพัฒนา เปิดเผยว่า หมู่บ้านนี้เดิมชื่อบ้าน”ห้วยแล้ง” ส่วนชื่อ”เงียง” เป็นภาษาไทเลยแปลว่าเลียงผา เพราะเคยมีเลียงผาจำนวนมาก และเป็นป่าดงผักหวานป่าอีกด้วย โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาความแห้งแล้งตามชื่อเดิม น้ำป่าจะไหลลงสู่ด้านล้างหมด พื้นที่ด้านบนหรือหมู่บ้านฯจึงแห้งและแล้งทุกปี ประชาชนมีรายได้น้อย ต้องอพยพไปทำงานรับจ้างทั่วไปและไปทำงานกรุงเทพฯ ภาคกลาง มีเพียงคนชราและเด็กอยู่ในพื้นที่ เพื่อการเกษตร น้ำอุปโภคบริโภค  เพื่อสร้างงาน เกิดอาชีพแก่ประชาชน ลดปัญหาความเดือดร้อนแก้ปัญหาน้ำท่วมและลดปัญหาความแห้งแล้ง จึงต้องมีการถวายฎีกาไปยังในหลวงจนได้รับพระมหากรุณาธิคุณลงมาเกิดอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ดังกล่าว เมื่อมีอ่างประชาชนต้องประชาคมร่วมมือร่วมใจดูแล รักษาสมบัติอันล้ำค่า ร่วมบริหารจัดการด้านการใช้น้ำ ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำอย่างมีระเบียบเป็นระบบ รวมทั้งด้านการเกษตรและการประมง ด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้