กัญจนาที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ ทส. ลงพื้นที่แก้ปัญหาคน ป่าและช้างป่า

Last updated: 30 พ.ค. 2565  |  1012 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 20 พ.ค.65  ณ บ้านพองหนีบ หมู่ 5 ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย  นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ ลงพื้นที่หมู่บ้านรอบอุทยานแห่งชาตูกระดึง มีนายณรงค์  จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ปลัดอาวุโสอำเภอภูกระดึง หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับและรายงาน ชี้แจงข้อมูล รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิตลอดจน ประชาชนในพื้นที่ ถึงปัญหาช้างป่าลงมารบกวนเข้าทำลายทรัพย์สิน พืชไร่ พืชสวนของประชาชนที่อยู่รอบอุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ ภูกระแต แก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันของคน ป่า และช้างป่า พบกับทีมอนุรักษ์ หน่วยป้องกันรักษาป่า อุปกรณ์การป้องกัน รับฟังและชมการสาธิตการขับไล่ช้างป่า โดยปัจจุบันช้างป่ามีจำนวนกว่า 100  ตัวทั้ง จากอุทยานแห่งชาติภูกระดึง  เขตรักษาพันธุสัตว์ป่าภูค้อภูกระแต  และจากอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มาหากินที่บ้านพองหนีบ เป็นประจำสร้างความหวาดกลัว และเข้าทำลายพืชไร่พืชสวน พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน ยุ้งข้าวของประชาชน

 
นายทองสา คำมา ผู้ใหญ่บ้านพองหนีบ รายงานข้อมูลว่า กรณี"การอยู่ร่วมชุมชน คนกับช้างป่า โดยลดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตร และเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง" ต้องมารับข้อเสนอเพื่อชุมชนกับช้างป่า อาหารเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดช้างป่าออกจากป่ามากินพืชผลการเกษตร พืชอาหารช้าง อาทิ อ้อย ข้าวโพด หลัง กล้วย รวมถึงอาหารที่เป็นแรงดึงดูดให้ช้างป่าค้นหาและเก็บไว้ในขนำ กระท่อม เถียง เกษตร เช่น ข้าว ปุ๋ย  เกลือ ในภาพรวมประซากรข้างป่าค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น (อัตราร้อยละ 3 ต่อปี) ดังนั้นจึงต้อง พัฒนานโยบายและมาตรการที่ เหมาะสมเพื่อการอยู่ร่วมระหว่างคนกับช้างป่า แนวทางการอยู่ร่วมกับช้างป่า  คือ ต้องเพิ่มพืชอาหารในป่า คุ้มครองพื้นที่ทุ่งหญ้าในป่า โดยดำเนินการอย่างประณีต สอดคล้องกับฤดูกาลและเส้นทางการเคลื่อนที่หากินของช้างป่า เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับระบบนิเวศพื้นที่ ไม่เปลี่ยนสภาพธรรมชาติ ให้การคุ้มครองหมู่บ้าน ชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน โดยปรับระบบไฟส่องสว่างในและรอบหมู่บ้านให้มี แสงสว่างเพียงพอที่ช้างจะไม่เข้าไปในหมู่บ้านหรือหลีกเลี่ยงรวมถึงชาวบ้านจะได้เห็นตัวช้างในช่วงกลางคืนที่ชัดเจน จัดทำระบบหอกระจายเสียงเพื่อแจ้งข่าวเฝ้าระวังช้างป่าให้กับชุมชน ทั้งนี้การออกแบบแสงส่องสว่างและเสียง จะต้องดำเนินการโดยใช้ฐานความรู้และพฤติกรรมช้างป่า ต.ชุมชนไม่เก็บอาหารช้างไว้ในขนำ กระท่อม เถียงนาในพื้นที่การเกษตร กรณีที่ช้างป่ามากินอาหารหรือน้ำให้แบ่งปัน อย่าทำลายอาหารหรือน้ำทิ้งทั้งหมดซึ่งจะก่อให้เกิดการทำลายข้าวของและกระท่อม  ส่งเสริมและพัฒนาระบบการเกษตรและธุรกิจต่อเนื่อง โดยปรับระบบจากเกษตรพืชเดี่ยวที่เป็นอาหารช้าง เป็นเกษตรผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม พร้อมสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ในแนวคิดคนอยู่ร่วมกับช้างป่า  การจัดทำรั้วรังผึ้งช่วยคุ้มครองพื้นที่เกษตรหรือสร้างอาชีพทางเลือกที่ช้างไม่รบกวนและต้องมีระบบอาสาสมัครเผ้าระวังช้าง จัดให้มีระบบอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างประจำหมู่บ้าน และเครือข่าย ต้องมีระเบียบและระบบการชดเชยเยี่ยวยา พืชผลที่เสียหาย การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บ แลtทรัพย์สินที่เสียหาย ทั้งในระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทุนจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ

 
นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา กล่าวว่า จากการรับฟังปัญหา ข้อเรียกร้องของประชาชนผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานและจากประชาชนแล้ว ตนเห็นว่าสามารุแก้ปัญหานี้ได้ ทั้งจัดทำแผนงานเฝ้าระวังและการอยู่ร่วมระหว่างชุมชนกับช้างป่า ทั้งในระดับชุมชน เครือข่ายขุม ตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ช้างป่าจังหวัดเลย โดยเชื่อมโยงพื้นที่ในระบบนิเวศร่วมกันของ จ.เลย กับ จ.เพชรบูรณ์การสร้างรั้วไฟฟ้า การทำรั้วรังผึ้งตนนั้นไม่ต้อง มาตรการการการผลักดันช้างแบบใช้เสียงดัง   การเพิ่มระบบไฟฟ้าในหมู่บ้านรวมทั้งมีหอกระจายข่าวหรือหอเตือนภัย ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 ทราบมาว่าทางภาครัฐจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณลงมาให้ทั้งประเทศ แก่เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า 246 เครือข่ายๆละ 50,000  บาท ส่วนค่าชดเชยต่างๆนั้นขอประชุมกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดในวันพรุ่งนี้

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้